Skip to content

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

หมวดหมู่: หมวด ธ น บ ป ผ

น้ำลึกหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงจิตใจคนนั้นยากแท้ที่จะรู้ว่าภายในใจคิดอย่างไร มีทัศนคติความคิด นิสัยใจคออย่างไร

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงน้ำ แม้จะลึกก็ยังสามารถวัดความลึกของน้ำได้ แต่จิตใจคนเรานั้นไม่สามารถที่จะวัดได้

Continue Reading

น้ำลดต่อผุด

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนที่ปกปิดการกระทำความผิดหรือสิ่งไม่ดีไว้ แต่ต่อมาคนผู้นั้นเกิดตกต่ำทำให้สิ่งที่เคยได้ทำผิดไว้ ถูกเปิดเผยออกมาให้เห็น

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงเวลามีน้ำมากก็จะมองไม่เห็นตอไม้ แต่เมื่อน้ำลดแห้งลง ก็จะเห็นตอผุดขึ้นมา

Continue Reading

นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ไม่รู้เรื่องราวที่ได้เกิดขึ้นใดๆ มักใช้เป็นข้ออ้างเวลาไม่อยากรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้น

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงคนที่นอนหลับเมื่อเกิดเหตุการณ์ใดๆขึ้น ก็จะไม่ได้รับรู้เรื่องราวใดๆ

Continue Reading

นกยูงมีแววที่หาง

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนที่มีฐานะทางสังคมหรือมีสกุลดี ย่อมมีลักษณะที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นบ้าง เช่นกริยามารยาทดี, สำเนียงพูดจาดี หรือลักษณะการแต่งตัวที่ดี

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงนกยูงที่สวยงามนั้น ย่อมมีแววสวยงามที่หางของมัน

Continue Reading

นับสิบไม่ถ้วน

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงบุคคลที่มีลักษณะขี้หลงขี้ลืม มีอาการเลอะเลือน ทำอะไรผิดๆถูกๆ

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง คนที่เลอะเลือนที่แม้จะนับหนึ่งถึงสิบก็ยังนับไม่ถูกหรือนับไม่เป็น

Continue Reading

เนื้อเข้าปากเสือ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงสิ่งของหรือเงินทองที่ไปอยู่ในมือของผู้อื่นที่มีความอันตรายหรือคนที่ฉลาดแล้ว ยากที่จะได้คืนกลับมาหรือรอดยาก

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงเนื้อที่อยู่ในปากเสือแแล้ว แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เสือจะคายออกมาเฉยๆ

Continue Reading

เนื้อเต่าย้ำเต่า

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงสิ่งที่มีประโยชน์ในตัวมันเอง และใช้ตัวเองทำให้เป็นประโยชน์ได้ต่อไป เช่นการนำกะลามะพร้าว มาขูดเนื้อมะพร้าวเป็นต้น

ที่มาของสํานวน น่าจะมาจากการคนสมัยก่อนทำนา เวลาเผาหญ้าเพื่อจะทำนา ก็จะเจอเต่านา ก็จะจับมายำกิน

Continue Reading

เนื้อหมูไปใส่เนื้อช้าง

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการนำทรัพย์สินเงินทองจากคนฐานะด้อยกว่าไปให้กับคนที่มีฐานะดีกว่า

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการนำเนื้อหมูไปแบ่ง ให้ฝั่งผู้มีเนื้อช้าง ซึ่งคนที่มีเนื้อช้างมีเนื้อมากกว่าอยู่แล้ว หากได้มาก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก แต่คนที่ให้เนื้อหมูไปนั่นจะทำให้สถานะการเงินแย่ลง

Continue Reading

เนื้อไม่ได้กินหนังไม่ได้รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนที่เข้าไปช่วยเหลือเหตุการณ์บางอย่างโดยไม่ได้ผลประโยชน์ด้วย แต่กลับต้องมารับเคราะห์ในเหตุการณ์นั้นๆ

ที่มาของสํานวน สมัยโบราณมีคดีลักทรัพย์ก็จะโดนประจาน เมื่อมีคดีลักควายผู้ร้ายได้นำเครื่องใน,กระดูก,เศษเนื้อหนังไปทิ้งที่บ้านชายคนหนึ่ง ต่อมาทหารสืบจนพบว่ามีซากควายอยู่ที่บ้านชายผู้นี้ จึงจับตัวมาลงโทษ โดยระหว่างทางที่เดินก็ให้ชายผู้เคราะห์ร้ายเอากระดูกควายที่พบบริเวณบ้านมาแขวนคอไว้ ชายผู้นี้จึงบ่นว่า เวรกรรมของเราจริง เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง ยังต้องเอากระดูกมาแขวนคออีก…

Continue Reading

นิ้วไหนร้ายตัดนิ้วนั้น

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงในคนหมู่มากแต่มีอยู่บางคนที่เป็นคนที่ไม่ดีอยู่ด้วย ก็จำเป็นต้องตัดคนพวกนี้ออกจากลุ่มไปหรือกำจัดเสียให้สิ้น เพื่อไม่ให้คนที่เหลือจะถูกมองเป็นคนไม่ดีไปด้วย

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงผู้ที่เป็นเนื้อร้ายที่นิ้วมือ หากไม่ตัดนิ้วนั้นทิ้งไปก็จะลามให้นิ้วอื่นติดเชื้อตามไปด้วย

Continue Reading
« 1 2 3 4 5 6 »

Posts pagination

  • Previous
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • Next

สุภาษิต คําพังเพย สํานวนไทย

  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ

Blogroll

  • คำคม
  • นิทาน
  • ตลก
© 2025 | WordPress Theme by Superbthemes
เลือกหมวดหมู่ที่นี่ก่อน
  • หน้าแรก
  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ