Skip to content

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

หมวดหมู่: หมวด ธ น บ ป ผ

ปากคนยาวกว่าปากกา

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนเรานั้นสามารถพูดนินทา หรือพูดให้เรื่องราวต่างๆแพร่กระจายไปได้ไกล สำนวนนี้ใช้ในเชิงนินทาว่าร้าย หรือกล่าวในเชิงลบ

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงปากของอีกาปรกติจะยาวกว่าคน แต่ปากของคนแม้จะสั้นกว่าแต่ก็พูดให้เรื่องราวแพร่สะพัดไปได้ไกล จึงเปรียบเปรยว่าปากคนนั้นยาวกว่าพูดให้เรื่องราวให้แพร่สะพัดไปได้ไกลว่า

Continue Reading

โปรดสัตว์ได้บาป

สํานวนสุภาษิตนี้ มักจะใช้ต่อท้ายสำนวนหนึ่งคือ “ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป” หมายถึง สํานวนนี้หมายถึง การกระทำความดีใดๆหรือทำดีต่อผู้อื่น แต่ผลที่ได้รับกลับมากลับกลายเป็นผลร้าย

ที่มาของสํานวน –

Continue Reading

ผงเข้าตาตนเอง

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงผู้ที่เก่งในการแก้ปัญหาให้คนอื่นๆ แต่เมื่อตนเองเกิดมีปัญหากลับแก้ปัญหาของตนไม่ได้

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงคนเราสามารถเขี่ยผงที่เข้าตาคนอื่นได้ แต่หากผงเข้าตาตนเองก็จะไม่สามารถเขี่ยออกด้วยตนเองได้

Continue Reading

แผ่นดินไม่ไร้เท่าใบพุทรา

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงแม้คราวนี้ได้ผิดหวังหรือทำบางสิ่งพลาดไป ก็ยังมีโอกาสอีกมากที่จะให้ทำในเรื่องใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ในโลกนี้

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงแผ่นดินนั้นกว้างใหญ่ ไม่ใช่เล็กเหมือนกับใบพุทรา

Continue Reading

บัวแล้งน้ำ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนที่ไม่มีน้ำใจ หรือไม่มีความเมตตากรุณา

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงบัวที่แห้งแล้งขาดน้ำ

Continue Reading

น้ำขุ่นไว้ในน้ำใสไว้นอก

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการแสดงออกทางหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในใจนั้นไม่พอใจหรือไม่ชอบใจ

ที่มาของสํานวน –

Continue Reading

ผ้าขี้ริ้วห่อทอง

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงผู้ที่มีฐานะร่ำรวย แต่ทำตัวสมถะหรือแต่งตัวซ่อมซ่อ

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงหากเราเห็นผ้าขี้ริ้วเราก็จะรู้สึกว่าสกปรกหรือไม่น่าพิสมัย แต่หารู้ไม่ว่าข้างในผ้าขี้ริ้วนั้นมีของมีค่าก็คือทองอยู่ข้างใน

Continue Reading

ผักชีโรยหน้า

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการกระทำสิ่งใดให้ดูดีเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ทำดีเพื่อให้ผ่านการประเมินหรือไม่ให้โดนตำหนิ แต่หากดูดีๆแล้วจะพบกว่าปัญหานั้นๆไม่ได้ถูกแแก้ไขหรือทำให้ดีจริง

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง อาหารธรรมดาเมื่อทำเสร็จแล้ว หากโรยด้วยผักชีก็จะทำให้อาหารน่ากินมายิ่งขึ้น

Continue Reading

ผีซ้ำด้ำพลอย

สํานวนสุภาษิตนี้ มักจะมีคนเขียนเป็น “ผีซ้ำด้ามพลอย” ซึ่งที่จริงแล้วไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องเป็น “ผีซ้ำด้ำพลอย” มีความหมายว่าเมื่อเกิดปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่แล้ว แต่ก็มีมีเรื่องราวหรือปัญหาเข้ามาเพิ่มซ้ำเติมให้หนักกว่าเดิมอีก

ที่มาของสํานวน คำว่า “ด้ำ” เป็นภาษาถิ่นของอีสาน หมายถึง ผีเรือน หรือเทวดาประจำบ้าน สำนวนนี้เปรียบเปรยถึงบุคคลในบ้านที่มีปัญหาอยู่แล้ว แต่ผีบ้านผีเรือน (ด้ำ) กลับพาโชคร้ายมาซ้ำเติม

Continue Reading

ผีเข้าผีออก

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนที่มีอารมณ์ไม่คงที่ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย อารมณ์ขึ้นๆลงๆ

ที่มาของสํานวน คนในสมัยโบราณมีความเชื่อในเรื่องผีสาง คือหากถูกผีเข้าก็จะมีอาการเปลี่ยนไปพูดจาแปลกๆ แต่หากผีออกแล้วก็จะกลับมามีอาการปกติแบบคนทั่วไป

Continue Reading
« 1 2 3 4 5 6 »

Posts pagination

  • Previous
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • Next

สุภาษิต คําพังเพย สํานวนไทย

  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ

Blogroll

  • คำคม
  • นิทาน
  • ตลก
© 2025 | WordPress Theme by Superbthemes
เลือกหมวดหมู่ที่นี่ก่อน
  • หน้าแรก
  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ