Skip to content

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

หมวดหมู่: หมวด ธ น บ ป ผ

น้ำกลิ้งบนใบบอน

สํานวนสุภาษิตนี้ มีความหมายเหมือนกับ “น้ำกลิ้งบนใบบัว” หมายถึงคนที่มีจิตใจกลับกลอก ปลิ้นปล้อน พูดแก้ตัวไปเรื่อย

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงน้ำที่กลิ้งอยู่บนใบบอน จะมีลักษณะเป็นก้อนดิ้นไปดิ้นมา ปัจจุบันมักถูกนำมาเปรียบเปรยกับสาวที่มีจิตใจไม่มั่นคง

Continue Reading

น้ำขึ้นให้รีบตัก

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงเมื่อมีโอกาสดีที่ผ่านเข้ามา ให้รีบฉวยโอกาสอันนี้และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อย่างเต็มที่ ก่อนที่ช่วงเวลาดีๆนี้จะผ่านไป

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงสมัยโบราณที่มีช่วงน้ำขึ้นและน้ำลง หากช่วงน้ำขึ้นก็ให้รีบตักน้ำมาตุนไว้ เนื่องจากเวลาน้ำลงจะตักน้ำได้ลำบากกว่า

Continue Reading

น้ำเชี่ยวขวางเรือ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการกระทำที่เป็นการขัดจังหวะของเหตุการณ์หนึ่งหรือขัดอารมณ์ของคนอื่น ที่มีผลกระทบรุนแรง ก็อาจส่งผลให้คนที่เข้าไปขัดจังหวะเกิดอันตรายขึ้นได้

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงหากพายเรือผ่านแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวมากๆ เรือที่พายอาจต้านแรงไม่อยู่และเกิดล่มได้โดยง่าย สำนวนนี้บางครั้งก็เรียกว่า “น้ำเชี่ยวอย่าเอาเรือไปขวาง” จะมีความหมายในลักษณะหลีกเลี่ยงไม่เผชิญกับเหตุการณ์อันตรายนั้นๆ หรือรอให้เหตุการณ์นั้นสงบลงก่อน

Continue Reading

น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา

สํานวนสุภาษิตนี้ มีความหมายเดียวกับคำว่า “ทีใคร ทีมัน” หมายถึงโอกาสของใครคนนั้นก็จะกระทำการได้เปรียบกว่าอีกฝ่าย แต่เมื่อถึงโอกาสของอีกฝ่าย ฝ่ายนั้นก็จะได้เปรียบบ้างเช่นกัน

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรียถึงเมื่อมีน้ำท่วมมดก็จะจมน้ำและถูกปลากิน แต่หากน้ำแห้งปลาก็จะถูกมดกัดกินได้เช่นกัน

Continue Reading

น้ำตาลใกล้มด

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงหญิงชายหากอยู่ใกล้ชิดกันบ่อยๆ ก็มีโอกาสที่จะชอบพอกันได้ มากกว่าอยู่ห่างกัน

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงมดเป็นสัตว์ที่ชอบน้ำตาล หากมดอยู่ใกล้น้ำตาลแล้วก็อดไม่ได้ที่จะเข้าใกล้น้ำตาล ปัจจุบันสำนวนนี้มักเปรียบเปรยถึง คู่รักที่ห่างกันไป และไปเจอเพศตรงข้ามคนใหม่ที่ใกล้ชิดกว่า โอกาสที่จะนอกใจก็มีมากขึ้น

Continue Reading

น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง

สํานวนสุภาษิตนี้ บางครั้งก็เรียกสั้นๆว่า “พูดเป็นน้ำท่วมทุ่ง” หมายถึงบุคคลที่พูดเยอะ แต่เนื้อหาที่เป็นสาระนั้นมีเพียงน้อยนิด

ที่มาของสํานวน –

Continue Reading

น้ำนิ่งไหลลึก

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงบุคคลที่มีบุคลิกเงียบขรึมหรือสงบเสงี่ยมพูดน้อย แต่แท้จริงแล้วภายในมีความคิดที่ลึกฉลาดหลักแหลมมาก หรืออาจจะมีความคิดร้ายกาจมากได้เช่นกัน

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงแม่น้ำที่บนผิวน้ำดูนิ่งๆไหลเอื่อยๆ แต่ลึกลงไปของแม่น้ำนั้นมีน้ำที่ไหลแรง

Continue Reading

น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงสิ่งบางอย่างที่มีพละกำลังหรือสิ่งของน้อยกว่า มักจะพ่ายแพ้กับพวกที่มีกำลังมากกว่า

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงไฟที่ลุกโชนอย่างหนัก หากนำน้ำจำนวนน้อยเข้าไปดับ ก็ไม่สามารถดับไฟได้ สำนวนนี้ปัจจุบันเริ่มมีการนำมาใช้เปรียบเทียบกับสิ่งที่ดีๆ แต่มีส่วนน้อย มักจะพ่ายแพ้ต่อสิ่งเลวร้ายแต่มีจำนวนมากกว่า

Continue Reading

น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนสองคนต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันโดยได้ประโยชน์ร่วมกัน

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงเรือหากจะลอยน้ำได้ก็ต้องมีน้ำมาหนุนเรือ และหากแม่น้ำไม่มีเรือวิ่งผ่านก็อาจไม่มีอ๊อกซิเจนในน้ำหรือแม้แต่หากมีการสัญจรทางน้ำ แม่น้ำลำคลองนั้นก็จะได้รับการดูแล  หรือเสือก็ต้องมีป่าให้อยู่อาศัย และป่าเมื่อมีเสือก็จะมีวัฐจักรของป่าเกิดขึ้น

Continue Reading

น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการที่บุคคลใช้คำพูดตรงๆแรงๆ แต่จริงใจไม่มีพิษมีภัย ย่อมดีกว่าบุคคลที่พูดจากดีแต่แฝงด้วยความร้ายกาจซ่อนอยู่

ที่มาของสํานวน น้ำเย็นในที่นี้คือน้ำในบริเวณที่มีต้นไม้ในน้ำเยอะเช่นแผงพักบุ้งหรือผักต่างๆ ทำให้แดดงส่องไม่เข้าถึงน้ำ น้ำจึงมีอุณหภูมิเย็นกว่าน้ำปกติหากปลาไปแอบอยู่บริเวณใต้ผักบุ้ง ก็มักจะโดนจับเป็นอาหารโดยง่าย ส่วนน้ำร้อนในที่นี้ไม่ได้หมายถึงน้ำที่อุณหภูมิสูงจัด แต่หมายถึงน้ำในอุณหภูมิปกติในแม่น้ำลำคลอง ที่ปลาจะว่ายอยู่อย่างปกติ ซึ่งจะถูกจับนำมาทำอาหารได้ยากกว่า

Continue Reading
1 2 3 4 5 6 »

Posts pagination

  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • …
  • 6
  • Next

สุภาษิต คําพังเพย สํานวนไทย

  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ

Blogroll

  • คำคม
  • นิทาน
  • ตลก
© 2025 | WordPress Theme by Superbthemes
เลือกหมวดหมู่ที่นี่ก่อน
  • หน้าแรก
  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ