เกลียดขี้ขี้ตาม เกลียดความความถึง
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึง การที่คนเราเกลียดสิ่งไหนแล้วมักจะได้สิ่งนั้น เปรียบได้กับหญิงสาวไม่ชอบผู้ชายที่เจ้าชู้ แต่ต่อมาก็ได้สามีที่เจ้าชู้ในที่สุด
ที่มาของสํานวน ไม่ทราบที่มาแน่ชัด
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึง การที่คนเราเกลียดสิ่งไหนแล้วมักจะได้สิ่งนั้น เปรียบได้กับหญิงสาวไม่ชอบผู้ชายที่เจ้าชู้ แต่ต่อมาก็ได้สามีที่เจ้าชู้ในที่สุด
ที่มาของสํานวน ไม่ทราบที่มาแน่ชัด
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายความไปในทางที่ว่าเกลียดตัวเขาแต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา หรือของๆเขา เช่น คนหนึ่งปากบ่นว่าไม่ชอบเขา แต่เมื่อเขาให้ของมาก็รับไว้
ที่มาของสํานวน บางคนเกลียดปลาไหลในรูปร่างของมัน แต่เมื่อเอามาแกง น้ำแกงมีรสหอมก็กินน้ำแกง
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนที่เข้าไปยุ่งเรื่องของคนอื่นทั้งๆที่ไม่จำเป็น จนทำให้ตัวเองนั้นเดือนร้อน
ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการนำเท้าเปล่าของตนเอง ไปแกว่งในพื้นดินจนเท้าตัวเองถูกเสี้ยนตำ
สํานวนสุภาษิตนี้ ถ้าพูดให้เต็มความก็ต้องพูดว่า “ตราบใดที่ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ ตราบนั้นคนเราก็ยังอดกินสินบนไม่ได้” หมายถึงนิสัยลึกๆของคนนั้นยังไงก็ชอบที่จะรับสินบน
ที่มาของสํานวน เข้าใจว่าเป็นคำพังเพยของจีนเอามาใช้เป็นภาษาของเขาก่อน แล้วไทยเราเอามาแปลเป็นภาษาไทย มีใช้กันอยู่มากในสมัยก่อนๆ
สํานวนสุภาษิตนี้ สิ่งที่หาได้ง่ายหรืออยู่ใกล้ตัวที่มีคุณค่ากว่ากลับไม่เอา แต่กลับไปเอาสิ่งที่อยู่ไกลหรือหายากแต่มีคุณค่าด้อยกว่ามาใช้
ที่มาของสํานวน เปรียบเหมือน การหาเกลือหาง่ายกว่าด่าง แต่กลับไปหาด่างมากิน
สํานวนสุภาษิตนี้ ใช้ในการเปรียบเทียบของทั้งสองสิ่งนั้นมีมูลค่า,ความดีความร้าย,ความสามารถ นั้นพอๆกัน ไม่ด้อยไปกว่ากัน
ที่มาของสํานวน มาจาก “ขนมจีนน้ำยา” คือ ขนมจีนกับน้ำยาจะต้องผสมให้ได้ส่วนพอเหมาะ จึงจะรับประทานอร่อย ต้องกะส่วนให้มีสัดส่วนเข้ากันพอดีทั้งสองฝ่าย เมื่อรับประทานแล้วเกิดอร่อยไม่ใช่ว่าขนมจีนอร่อย หรือน้ำยาอร่อย แต่ควรอร่อยด้วยกันทั้งสองอย่าง
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการลงทุนลงแรงหรือเวลาเป็นจำนวนมาก เพื่อทำในสิ่ง ที่จะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาจำนวนน้อย
ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการที่จะจับตั๊กแตนนั้น โดยปกติแค่เดินจับก็ได้ แต่หากขี้ช้างมาเพื่อจับตั๊กแตนก็จะดูยิ่งใหญ่แต่สิ่งที่ได้มานั้นไม่คุ้มค่ากับผลที่ได้รับตอบกลับมา
สํานวนสุภาษิตนี้ เตือนใจว่าการที่มีลูกน้องที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเรา ก็ต้องหมั่นกวดขันเอาใจใส่ อย่าปล่อยให้หล่ะหลวมเรื่องระเบียบวินัย ควรต้องดูแลกวดขันอย่างสม่ำเสมอ
ที่มาของสํานวน เปรียบได้กับควาญช้างต้องคอยถือขอสับช้าง บังคับช้างไว้เสมอ ถ้าวางของหรือไม่ใช้ขอคอยสับไว้ ช้างก็อาจไม่อยู่ในโอวาสของเราได้
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการกระทำใดๆที่เลวร้ายหรือการทุจริต โดยไม่มีความละอายใจ กระทำการโดยโจ่งแจ้งให้ผู้น้อยเห็นอย่างโจ่งแจ้ง
ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงผู้ใหญ่ที่ถ่ายนั้น ควรจะทำในที่มิดชิด ไม่ใช่มาถ่ายต่อหน้าเด็ก
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายความว่า เมื่อเราไปที่แห่งใดผู้คนส่วนใหญ่มีสังคมประเพณีอย่างไร ก็ให้ปฏิบัติตามให้สอดคล้องอย่าไปทำพฤติกรรมขัดแย้งกับเขา
ที่มาของสํานวน “ตาหลิ่ว” ในที่นี้หมายถึงตาบอดข้างเดียว ไม่ได้หมายถึงการหลิ่วตา เปรียบเปรยว่าหากเราเข้าเมืองที่มีแต่คนตาบอดข้างเดียว แม้เราตาจะไม่บอด เราก็ต้องทำตาบอดข้างเดียวให้กลมกลืนไปด้วย