Skip to content

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

หมวดหมู่: หมวด ก ข ค ฆ ง

คนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนที่เคยมีอำนาจวาสนาหรือเงินทองมาก่อน แต่ต่อมาพลาดตกต่ำหรือยากจนลง แต่ก็อย่าไปดูถูกหรือเหยียบย่ำ เนื่องจากในอนาคตเขาอาจกอบกู้สถานการณ์กลับมาได้อีกครั้งหนึ่ง แต่หากเป็นไม้ที่ล้มนั้นก็สามารถข้ามได้โดยปลอดภัย

ที่มาของสํานวน เปรียบเทียบได้กับคนที่ล้มหากเดินข้ามเค้าอาจลุกขึ้นมาชนได้ แต่ถ้าเป็นไม้ล้มก็จะไม่มีการลุกขึ้นมาซึ่งปลอดภัยกว่า

Continue Reading

คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการเลือกคบคนต้องดูดีๆ เพราะหากคบคนชั่วหรือคนไม่ดีเป็นมิตร ก็มักชักพาเราจูงเราไปในทางไม่ดี แต่ถ้ารู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี มีความรู้ ก็จะพากันชักจูงให้เรามีความรู้และสิ่งดีๆตามมา

ที่มาของสํานวน  –

Continue Reading

ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงมีเรื่องราวที่เดือนร้อยเกิดขึ้นมา กำลังมีปัญหาและแก้ไขอยู่ ก็เกิดมีปัญหาใหญ่ใหม่เพิ่มขึ้นมา เกิดเป็นปัญหาตามมาซ้อนกัน

ที่มาของสํานวน  –

Continue Reading

ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงบุคคลที่มีความรู้วิชาการเป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถนำมาปรับใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ไม่เหมือนคนที่รู้น้อย แต่มีประสบการณ์มากมายที่สามารถเอาตัวรอดได้

ที่มาของสํานวน  –

Continue Reading

โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ

สํานวนสุภาษิตนี้ มีสํานวนเต็มคือ “โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก” หมายถึงการกำจัดศัตรูนั้น ต้องกำจัดให้หมดสิ้นไปจริงๆ ไม่ให้เหลือผู้สืบทอดหรือผู้ที่จะกลับมาเป็นศัตรูได้อีก ใช้กับการฆ่าและกับการหน้าที่การงาน

ที่มาของสํานวน เปรียบกับการตัดต้นกล้วย ถ้าจะตัดไม่ให้กล้วยขึ้นมาอีก ก็ต้องขุดหน่อทิ้งด้วย มิฉะนั้นหน่อกล้วยจะงอกขึ้นเป็นต้นใหม่

Continue Reading

ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก

สํานวนสุภาษิตนี้ บางทีเรียก “ฆ่าควายอย่าเสียดายเกลือ” หมายถึงการทำงานใหญ่ อย่าตระหนี่ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่าย ไม่เช่นนั้นอาจเสียการใหญ่ได้

ที่มาของสํานวน เปรียบเหมือนฆ่าควายทั้งตัวเพื่อจะปรุงอาหารมากๆ ก็อย่าเสียดายพริกที่จะต้องใช้แกงหรือผัด มิฉะนั้นอาหารจะเสียรสเพราะเนื้อควายไม่ได้สัดส่วนกับพริกแกง ทำให้รสชาติไม่อร่อย

Continue Reading

ฆ่าช้างเอางา

สํานวนสุภาษิตนี้ กาารทำลายสิ่งที่มีค่ามาก เพื่อให้ได้ของที่มีค่าน้อยนิด โดยไม่คิดเลยว่าการกระทำนั้นสมควรหรือไม่ หรือการกระทำที่ทำลายสิ่งสำคัญสิ่งที่มีค่ามากมาย เพื่อให้ได้สิ่งที่ไม่คุ้มค่า

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยกับการการฆ่าช้างที่มีคุณค่ามากมายทั้งเรื่องศิริมงคล,เศรษฐกิจ เพียงเพื่อต้องการงา เพื่อตอบสนองความต้องการของคนที่ชั่วร้าย

Continue Reading

งมเข็มในมหาสมุทร

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการค้นหาอะไรบางอย่างที่หายากในพื้นที่การหานั้น มีบริเวณกว้างใหญ่ ซึ่งยากแก่การหาของให้พบได้

ที่มาของสํานวน เปรียบเทียบการหาเข็มชิ้นเล็ก ในมหาสมุทรที่กว้างใใหญ่ การค้นหาจึงยากมากแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

Continue Reading

ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนสองคน ต่างรู้ลึกตื้นหนาบางนิสัยใจคอ หรือความลับของอีกฝ่ายนึงเป็นอย่างดี แต่คนอื่นนั้นไม่รู้เรื่องของสองคนนี้ เช่นคนสองคนทำตัวเป็นผู้ดีแต่งตัวหรูหรา แต่ทั้งคู่ก็รู้ว่าอีกฝ่ายนั้นไม่ได้เป็นผู้ดีจริงๆ แต่บุคคลอื่นๆก็ยังมองว่าคนสองคนนี้เป็นผู้ดี

ที่มาของสํานวน ตามธรรมชาติแล้วเราจะไม่เคยได้เห็น “ตีนงู” หรือ “นมไก่” เพราะงูไม่มีตีนและไก่ก็ไม่มีนม

Continue Reading

กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

กลืนไม่เข้าคายไม่ออก : สำนวนนี้หมายถึง การกระทำที่ตัดสินใจไม่ถูก ตัดสินใจได้ยากว่าจะเลือกทางไหน เนื่องจากทั้งสองทาง ก็ส่งผลกระทบด้านลบทั้งสองทางเลือก เปรียบเปรยถึง มีก้างปลาติดอยู่ในคอซึ่งกลืนก็ไม่เข้าท้อง คายก็ไม่สามารถทำได้ง่าย

Continue Reading
« 1 2 3 4 5 6 »

แนะแนวเรื่อง

  • Previous
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • Next

สุภาษิต คําพังเพย สํานวนไทย

  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ

Blogroll

  • คำคม
  • นิทาน
  • ตลก
© 2023 | WordPress Theme by Superbthemes
เลือกหมวดหมู่ที่นี่ก่อน
  • หน้าแรก
  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ