Skip to content

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

หมวดหมู่: หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ

สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงแม้จะมีความรู้ทางทฤษฎีมากเพียงใด แต่ก็เทียบกับกับการลงมือปฏิบัติจนชำนาญงานไม่ได้

ที่มาของสํานวน –

Continue Reading

สีซอให้ควายฟัง

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการพูดสอนให้ผู้ที่มีความรู้น้อยได้ฟัง แต่ผู้ฟังไม่ใส่ใจที่จะฟัง หรือฟังแต่ก็ไม่สามารถทำความเข้าใจได้ ทำให้ผู้ที่สั่งสอนให้ความรู้นั้นเสียเวลาเปล่า

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการสีซอให้ควายฟัง ไม่ว่าจะสีซอให้ไพเราะซักเท่าใด ควายก็ไม่อาจจะรับรู้ถึงความไพเรานั้นได้

Continue Reading

สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเป็นอย่างมาก ก็อาจจะพลาดท่าหรือทำผิดพลาดได้

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงสัตว์ที่มีสี่เท้า ที่มีการเคลื่อนไหวมั่นคงกว่าสัตว์สองเท้า ก็ยังมีวันก้าวพลาดล้มลงได้ หรือนักปราชญ์ที่เก่งกาจ ก็ยังสามารถทำผิดพลาดได้เช่นกัน สำนวนนี้มีคำเต็มๆคือ  “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง สองตีนโด่เด่ คงจะเซลงมาบ้าง”

Continue Reading

สุกหัวกินหัว สุกหางกินหาง

สํานวนสุภาษิตนี้ มีความหมายเหมือนกับสำนวน “สิบเบี้ยใกล้มือ” หมายถึง หากจะได้รับสิ่งใดมาก็ควรคว้าเอาไว้ก่อน ไม่ควรรีรอ เพราะอาจจะไม่มีโอกาสได้อะไรเลย

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการปิ้งปลา หากเห็นว่าปิ้งหัวสุกแล้วก็ให้กินหัว หางสุกแล้วก็ให้กินที่หาง อย่าไปรอให้สุกทั้งตัวเพราะอาจจะกลายเป็นปลาไหม้ทั้งหมดแล้วพาลจะไม่ได้กินเลย

Continue Reading

เส้นผมบังภูเขา

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการที่คิดแก้ปัญหาในสิ่งที่คิดว่ายากลำบาก โดยหาหนทางต่างๆที่จะแก้ไขไว้มากมาย แต่สุดท้ายแล้ววิธีแก้ปัญหานั้นง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ แต่ได้ถูกมองข้ามไป

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง ภูเขาที่มีขนาดใหญ่โตสามารถมองได้เห็นอย่างชัดเจน แต่หากมีเส้นผมเส้นเล็กๆมาบังในตำแหน่งพอเหมาะพอเจาะก็อาจมองไม่เห็นก็เป็นได้

Continue Reading

เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน

สํานวนสุภาษิตนี้ มีความหมายเดียวกับสำนวน “ยุให้รำ ตำให้รั่ว” หมายถึงการยุยงให้คนสองฝ่ายทะเลาะหรือผิดใจกัน

ที่มาของสํานวน คำว่า “เสี้ยม” หมายถึงยุแหย่ เปรียบเปรยถึงการต้อนควายให้มาเจอกันและจับให้เขาของควายมาชนกัน ทำไปทำมาควายก็จะขวิดกันเอง

Continue Reading

ใส่ตะกร้าล้างน้ำ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการที่พ่อและแม่ของหญิงสาว ที่ลูกของตนที่ผ่านการมีสามีหรือเสียชื่อจากการเสียความสาวไปแล้ว ปรับภาพลักษณ์ให้ลูกตนเองดูดีเหมือนไม่เคยมีเรื่องเสื่อมเสียชื่อเสียงมาก่อน

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการนำปลาที่มีกลิ่นคาว นำมาหมักแช่กลือจากนั้นนำไปใส่ตะกร้าล้างน้ำ ก็จะช่วยให้ช่วยลดกลิ่นคาวที่ติดกับปลาได้

Continue Reading

หอกมันแทงมัน

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการนำผลประโยชน์จากการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาต่อยอด เพื่อเป็นทุนในการดำเนินการนั้นต่อไป คล้ายๆกับสำนวนปัจจุบันที่ว่า “เงินต่อเงิน”

ที่มาของสํานวน –

Continue Reading

หมากัดอย่ากัดหมา

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงถ้ามีคนต่ำช้าหรืออันธพาลเข้ามาทำร้ายหรือต่อว่าทะเลาะด้วย อย่าไปโต้ตอบ ให้หลีกเลี่ยงออกจากสถานการณ์นั้นๆ เนื่องจากไม่ว่าจะตอบโต้อย่างไร ก็จะเป็นการเสียหายกับตนเองทั้งชื่อเสียงและภาพลักษณ์

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงหากมีหมามากัด เราก็ไม่ควรที่จะต้องไปตอบโต้ เพราะหากเราไปกัดหมาตอบเราก็จะเสียภาพลักษณ์และไม่มีผลดีใดๆเลย

Continue Reading

หมาเห่าใบตองแห้ง

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนที่ทำตัวเองเหมือนมีความเก่งกล้าสามารถ แต่จริงแล้วเป็นคนที่ขี้ขลาดไม่กล้าจริงอย่างที่พูด

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงสมัยก่อนที่ลมพัดใบกล้วยแห้งจะเสียดสีกันมีเสียงดัง เมื่อสุนัขเห็นอะไรเคลื่อนไหวและมีเสียงดังก็จะเห่าสู้ แต่ก็เห่าไปเช่นนั้นเอง ไม่กล้าที่จะเข้าไปเผชิญหน้าแม้แต่ใบตองแห้งๆ

Continue Reading
« 1 2 3 4 5 6 »

แนะแนวเรื่อง

  • Previous
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6
  • Next

สุภาษิต คําพังเพย สํานวนไทย

  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ

Blogroll

  • คำคม
  • นิทาน
  • ตลก
© 2023 | WordPress Theme by Superbthemes
เลือกหมวดหมู่ที่นี่ก่อน
  • หน้าแรก
  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ