Skip to content

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

หมวดหมู่: หมวด ย ร ล ว ศ

ลูกไก่ในกำมือ

สํานวนสุภาษิตนี้ มีคำต่อท้ายคือ “ลูกไก่อยู่ในกำมือ จะบีบก็ตาย จะคายก็รอด” หมายถึง ผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าบุคคลที่อยู่ใต้อำนาจมากมากนัก โดยจจะจัดการอย่างไรก็ได้ตามที่ต้องการ

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง ลูกไก่ตัวเล็กๆที่อยู่ในกำมือ หากอยากจะบีบให้ตายเมื่อไหร่ก็ย่อมได้

Continue Reading

ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น

ความหมายอย่างเดียวกับที่ว่า ” ดูช้างให้ดูที่หาง ดูนางให้ดูที่แม่ ” เพราะมีความหมายว่า ลูกย่อมไม่แตกต่างไปจากพ่อแม่แต่ถ้าพูดว่า ” ลูกไม้หล่นไกลต้น ” ความหมายก็อยู่ในลักษณะตรงกันข้าม แปลว่า ลูกที่มีนิสัยหางไกลหรือแตกต่างกับพ่อแม่.

Continue Reading

ลูบหน้าปะจมูก

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการกระทำที่ต้องลงโทษหรือเอาผิดกับคนหนึ่งที่เป็นคนของพวกพ้องตนเอง แต่ก็พยายามใช้วิธีหลีกเลี่ยงหรือทำไปให้มีผลกระทบน้อยที่สุด

ที่มาของสํานวน –

Continue Reading

เล่นกับหมาหมาเลียปาก เล่นกับสากสากต่อยหัว

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการที่ผู้ใหญ่ไปเล่นกับผู้น้อยแบบสนิทสนม และผู้น้อยนั้นก็ลามปามเล่นกับผู้ใหญ่แบบไม่ให้เกียรติกัน

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง การที่คนไปเล่นกับหมาอย่างใกล้ชิด หมาเห็นว่าคนมาเล่นด้วยก็เลยแสดงอาการเป็นมิตรด้วยการเลียปาก ซึ่งที่จริงก็เป็นอาการปกติของหมา

Continue Reading

เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงผู้ที่หาผลประโยชน์โดยมิชอบจากหน้าที่การงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง คนที่เลี้ยงช้างและมีกล้วยที่เป็นอาหารสำหรับช้าง แต่ไม่ยอมป้อนให้ช้างกิน กลับเอากล้วยนั้นไปขายให้คนที่สงสารช้าง ซื้อเพื่อป้อนอาหารช้างนั้นซะเอง จึงเป็นที่มาของคำว่า “เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง”

Continue Reading

เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้

สำนวนนี้ มุ่งหมายโดยเฉพาะกับผู้ที่เลี้ยงลูกของตน หรือเลี้ยงเด็กที่เป็นลูกบุญธรรมก็ตาม ถ้าเด็กนั้นมีสันดานชั่วร้าย เมื่อโตขึ้นก็ย่อมก่อความเดือดร้อนลำบาก ให้แก่ตนเองเปรียบได้กับการเลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ เมื่อยังตัวเล็กอยู่ยังไม่เป็นภัย แต่โตขึ้นก็อาจทำความเดือดให้แก่ผู้เลี้ยงได้เป็นส่วนมาก.

Continue Reading

เลือดข้นกว่าน้ำ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงญาติหรือพี่น้องของตน ย่อมที่จะมีความผูกพันธ์และมีความสำคัญกว่าคนนอก

ที่มาของสํานวน “เลือด” ในที่นี้หมายถึง สายเลือด และ “ข้น” ในที่นี้หมายถึงความหนาแน่น,ความแน่นแฟ้น ซึ่งธรรมดาแล้วเลือดนั้นจะมีความข้นมากกว่าน้ำ

Continue Reading

วัวแก่กินหญ้าอ่อน

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงชายอายุเยอะ ที่มีภรรยามีอายุอ่อนคราวลูกคราวหลาน

ที่มาของสํานวน ปกติวัวอายุไม่เยอะจะกินหญ้าอ่อน จะไม่ค่อยกินหญ้าแก่ แต่วัวอายุมากจะกินได้ทั้งหญ้าแก่และหญ้าอ่อน สำนวนนี้เปรียบเปรียถึง วัวที่อายุมากแต่เลือกกินเฉพาะหญ้าอ่อนๆ เปรียบหญ้าเหมือนผู้หญิงที่มีอายุน้อย

Continue Reading

วัวเคยขา ม้าเคยขี่

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงชายหญิงที่เคยมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกันมากก่อน เมื่อมาพบเจอกันใหม่ย่อมคุ้นเคยกัน

ที่มาของสํานวน ปัจจุบันสำนวนนี้เริ่มผิดเพี้ยนไปเป็น “วัวเคยค้า ม้าเคยขี่” อาจจะเป็นเพราะคำว่า “ค้า” “ม้า” เป็นคำที่มีเสียงสูงระดับเดียวกันก็เป็นได้ ส่วนที่มานั้น เปรียบเปรยถึง วัวและม้าที่มีเจ้าของคนเดิมมาขึ้นขึ่ ก็จะคุ้นเคยกัน จะไม่ตื่นกลัวไม่พยศใส่

Continue Reading

วัวไม่กินหญ้าอย่าขมเขา

สํานวนสุภาษิตนี้ บางครั้งก็เรียกกันว่า “อย่าข่มเขาโคขืนให้กลืนหญ้า” หมายถึง อย่าบังคับใครให้ทำอะไรที่เขาไม่สมัครใจและไม่ชอบใจ

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง วัวเลี้ยงบางพันธ์จะไม่กินหญ้าแก่ หากให้วัวไปกินหญ้าแก่ก็มักจะไม่กิน ก็ต้องปล่อยเขา

Continue Reading
« 1 2 3 4 5 »

Posts pagination

  • Previous
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
  • Next

สุภาษิต คําพังเพย สํานวนไทย

  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ

Blogroll

  • คำคม
  • นิทาน
  • ตลก
© 2025 | WordPress Theme by Superbthemes
เลือกหมวดหมู่ที่นี่ก่อน
  • หน้าแรก
  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ