Skip to content

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

หมวดหมู่: หมวด จ ฉ ช ซ ฌ

ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการทำอะไรซักอย่างควรจะทำด้วยความรอบคอบ ไม่ต้องรีบร้อน ทำไปแล้วเก็บรายละเอียดีๆ ก็จะได้ผลงานที่ออกมาดี

ที่มาของสํานวน มาจากการที่จะตีพร้าสักเล่มนึงนั้น หากรีบร้อนตีก็จะทำพร้ามีผิวที่ไม่เนียนและไม่แข็งแรง หากค่อยๆตี ค่อยๆทำก็จะทำให้พร้ามีความสวยงามมากขึ้น

Continue Reading

ชักใบให้เรือเสีย

สํานวนสุภาษิตนี้ การพูดหรือการกระทำที่แสดงออกมาในเหตุการณ์นั้นๆ ทำให้เรื่องในเหตุการณ์นั้นๆต้องออกนอกเรื่อง หรือผิดประเด็นออกไปในทางที่ไม่ดี

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยกับการที่ผู้อ่อนด้อยประสบการณ์ในการแจวเรือ ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ไปชักใบเรือ ทำให้เรือเปลี่ยนทิศทางไปในทางที่ผิด

Continue Reading

ชาติคางคกยางหัวไม่ตกไม่รู้สำนึก

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึง คนที่ดื้อรั้นทำอะไรในสิ่งที่ไม่ดี และมีคนท้วงติงและเตือนแต่ก็ไม่เชื่อยังดื้อรั้นจะทำอยู่เช่นเดิม จนคนที่เตือนก็ปล่อยให้ทำไปจนเกิดผลเสียแก่คนๆนั้น เพื่อเป็นการให้รู้สำนึกเองว่าสิ่งที่ทำนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี จนตนเองต้องเดือนร้อน

ที่มาของสํานวน   –

Continue Reading

จมไม่ลง

สำนวนสุภาษิตนี้ หมายถึงบุคคลที่เคยมีฐานะร่ำรวยหรือมีชื่อเสียงมาก่อน แต่ปัจจุบันยากจนหรือไม่มีชื่อเสียงอีกแล้ว แต่ยังประพฤติตนเหมือนกับตอนที่ยังมีฐานะหรือชื่อเสียงดีเหมือนแต่ก่อน

ที่มาของสำนวน –

Continue Reading

ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงผู้ที่นำอันตรายหรือศัตรู มาทำอันตรายสู่พรรคพวกหรือบ้านเมืองตนเอง โดยรู้ถึงผลที่จะเกิดแต่ก็ยังกระทำ

ที่มาของสํานวน คำว่า “ชักน้ำเข้าลึก” คือการที่ชาวนาทดน้ำเข้านาเข้าสวนของตนเอง แต่ถ้าน้ำเข้ามามากจนลึกเกินไป ก็จะเป็นผลเสียต่อไร่นา ส่วน “ชักศึกเข้าบ้าน” คือการชี้ทางให้ศัตรูเข้ามาทำลายบ้านเมืองของตนเอง

Continue Reading

ชักหน้าไม่ถึงหลัง

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงมีรายได้ที่ได้รับมาต้นเดือน มีไม่พอจ่ายถึงปลายเดือน

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการที่มีรายได้แต่ใช้จนหมดอย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงหน้าของเดือน (หน้า หมายถึง ช่วงหน้า) ไม่มีเงินพอที่จะใช้ในช่วงหลังของเดือน (หลัง หมายถึง ช่วงหลัง)

Continue Reading

ชิงสุกก่อนห่าม

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการกระทำที่ชายหญิง ซึ่งยังไม่มีความพร้อม มีความสัมพันธ์กันลึกซึ้งก่อนวัยอันควร สำนวนนี้บางครั้งหมายความถึงการกระทำใดๆ ก่อนเวลาอันควร ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเรื่องความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง การกินกล้วยที่มันสุกทันทีไม่มีห่าม ซึ่งที่จริงผลกล้วยจะกินได้ต้องห่ามก่อน เปรียบให้เห็นว่าเป็นการลัดขั้นตอน ไม่รอในสิ่งที่สมควรแก่เวลา

Continue Reading

ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการมีความซื่อสัตย์จะทำให้คนเชื่อใจ ไม่มีวันอดตาย แต่หากเป็นคนที่มีนิสัยคดโกง แม้จะมีคนให้ผลประโยชน์แต่เมื่อไปโกงแล้วเค้าจับได้ก็จะไม่คบค้าสมาคมด้วย ในที่สุดก็จะทุกข์ยาก

ที่มาของสํานวน –

Continue Reading

ซื่อเหมือนแมวนอนหวด

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนที่แสดงออกเป็นคนซื่อ แต่ภายในแล้วมีความเจ้าเล่ห์คล่องแคล่วสมองไว หากใครเผลอก็จะแสดงพฤติกรรมที่แท้จริงออกมา เป็นสำนวนที่ใช้พูดถึงคนที่ ไม่ซื่อจริงดั่งที่แสดงออก

ที่มาของสํานวน “หวด” คือภาชนะสำหรับนึ่งข้าวเหนียวในสมัยโบราณ สำนวนนี้เปรียบเปรยถึง แมวที่ดูเชื่องๆนอนขี้เกียจอยู่ข้างๆหวดนึ่งข้าว ใกล้ๆกับปลาย่าง เมื่อคนเฝ้าเผลอ แมวก็จะรีบไปคาบปลาย่างไปกินทันที

Continue Reading

ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการกระทำใดๆที่ไม่ถูกเวลา หรือซื้อของไม่ดูฤดูกาลซื้อของแพงโดยไม่จำเป็น

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการที่จะซื้อควายในช่วงที่เป็นฤดูไถนา ราคาควายก็จะแพงกว่าช่วงที่ไม่ใช่ฤดูไถนา หรือช่วงเทศกาลตรุษไทยตรุษจีน คนนิยมซื้อเสื้อผ้าให้กับเด็ก ช่วงนี้ผ้าจะมีราคาแพง

Continue Reading
« 1 2 3 »

Posts pagination

  • Previous
  • 1
  • 2
  • 3
  • Next

สุภาษิต คําพังเพย สํานวนไทย

  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ

Blogroll

  • คำคม
  • นิทาน
  • ตลก
© 2025 | WordPress Theme by Superbthemes
เลือกหมวดหมู่ที่นี่ก่อน
  • หน้าแรก
  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ