Skip to content

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

หมวดหมู่: หมวด จ ฉ ช ซ ฌ

จอดเรือไม่ดูท่า ขี่ม้าไม่ดูทาง

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการจะทำอะไรให้ใช้ความระมัดระวังและคิดให้รอบคอบเสียก่อน จะได้ไม่เสียหายหรือเกิดข้อผิดพลาด สำนวนนี้บางครั้งก็เรียกว่า “จอดเรือให้ดูฝัง จะนั่งให้ดูพื้น” ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกัน

ที่มาของสํานวน เปรียบได้กับการจอดเรือหรือขี่ม้า ถ้าไม่ตรวจดูท่าจอดให้แน่นอน หรือไม่ดูหนทางที่จะขี่ม้าไปว่าจะเหมาะหรือไม่ ผลเสียหายก็ย่อมเกิดขึ้นได้

Continue Reading

เจ้าไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงผู้ที่ไม่มีอยู่เป็นหลักแหล่ง หรือเปลี่ยนสถานที่อยู่ไปเรื่อย

ที่มาของสํานวน ไม่ทราบที่มา

Continue Reading

โจรปล้นสิบครั้ง ไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการที่คนเราจะถูกโจรขึ้นบ้านถึง 10 ครั้ง ทรัพย์สินก็ยังเกิดความเสียหายไม่เท่ากับการที่โดนไฟไหม้บ้านเพียงแค่ครั้งเดียว เพราะอาจจะเสียหายทั้งทรัพย์สินและที่อยู่อาศัยด้วย

ที่มาของสํานวน ไม่ทราบที่มา

Continue Reading

จับปลาสองมือ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการที่คนๆหนึ่งทำสิ่งใดที่ยากพร้อมๆกันทำให้ล้มเหลวทั้งสองสิ่งนั้น สำนวนนี้นิยมใช้กับ ผู้ชายที่เกี้ยวผู้หญิงสองคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งผลสุดท้ายแล้วผู้ชายคนนั้นจะมีปัญหาตามมา

ที่มาของสํานวน เปรียบได้กับการใช้มือจับปลาตัวเดียวให้มั่นดีกว่าจับด้วยมือเดียวหรือข้างละตัว ซึ่งอาจจะไม่มั่นพอ ทำให้ปลาทั้งสองตัวหลุดตกน้ำไปหมด

Continue Reading

จับแพะชนแกะ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการทำการแก้ปัญหาเรื่องราวหนึ่งโดยเร่งด่วนเพื่อให้เหตุการณ์นั้นสามารถผ่านไปได้ก่อน โดยการแก้ปัญหานั้นจะเป็นลักษณะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนไม่มีความสมบูรณ์นัก

ที่มาของสํานวน เปรียบกับการเอาแพะมาชนกับแกะ เพราะว่าแกะกับแพะเป็นสัตว์ต่างพันธุ์กัน ซึ่งปกติจะไม่เคยมีใครจับคู่มาชนกัน

Continue Reading

จับเสือมือเปล่า

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการทำประโยชน์ใดๆโดยไม่ต้องลงทุน โดยอาจใช้ความสามารถหรือทรัพยากรของคนอื่น เพื่อให้ตนเองได้ประโยชน์

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยกับการที่ต้องจับเสือซึ่งเป็นสัตว์อันตราย จำเป็นต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการจับเสือ

Continue Reading

จับปูใส่กระด้ง

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการที่คนๆหนึ่งพยายามดูแลเด็กเล็กๆ โดยพยายามให้อยู่นิ่งๆ หรือเป็นระเบียบ แต่เด็กก็ซุกซนไม่อยู่นิ่ง

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงปูเป็นสัตว์ที่ไม่อยู่นิ่งเฉยๆ เมื่อถูกจับไปไว้ในกระด้ง มันก็จะหาทางเดินออกจากกระด้งตลอดไม่ยอมหยุดอยู่เฉยๆ

Continue Reading

จุดไต้ตำตอ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการที่ผู้พูดพูดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งและเกี่ยวกับบุคคลที่สาม โดยผู้พูดไม่รู้จักบุคคลผู้นั้นที่เป็นเจ้าของเรื่องราว

ที่มาของสํานวน การที่คนสมัยโบราณ จุดไต้ให้ไฟสว่างซึ่งใช้เป็นไฟส่องสำหรับการเดินทาง แล้วเอาไต้ไฟไปชนเข้ากับต่อถึงดับ

Continue Reading

ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการเกิดเป็นผู้ชายต้องทำตัวให้สมเกียรติของการเป็นลูกผู้ชาย โดยเฉพาะในมุมของชื่อเสียงและเกียติประวัติของชายคนนั้น

ที่มาของสํานวน เสือเป็นสัตว์ที่ดุร้าย แต่ถือเป็นสัตว์ที่น่าเกรงกลัวในป่า โดยสัญลักษณ์ลายของมันเป็นสัญลักษณ์ของความเก่งกาจ

Continue Reading

ชายสามโบสถ์ หญิงสามผัว

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงชายและหญิงผู้นั้นไม่ควรมีความสัมพันธ์รักใคร่ในทางชู้สาวด้วย เนื่องจากจิตใจไม่มั่นคง แต่ปัจจุบันสำนวนนี้ไม่ค่อยมีคนเชื่อถือกันเหมือนอดีตแล้ว

ที่มาของสํานวน ผู้ชายที่ผ่านการบวชมาแล้ว 3 หรือผู้หญิงที่ผ่านการมีสามีมาแล้ว 3 คน โบราณมองว่าเป็นคนโลเลไม่มั่นคง

Continue Reading
1 2 3 »

แนะแนวเรื่อง

  • 1
  • 2
  • 3
  • Next

สุภาษิต คําพังเพย สํานวนไทย

  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ

Blogroll

  • คำคม
  • นิทาน
  • ตลก
© 2023 | WordPress Theme by Superbthemes
เลือกหมวดหมู่ที่นี่ก่อน
  • หน้าแรก
  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ