Skip to content

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

หมวดหมู่: หมวด ฝ พ ฟ ภ ม

แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการยอมคู่กรณีเพื่อไม่ให้มีเรื่องราวใหญ่โต แต่ถ้าหากไม่ยอมแพ้ก็จะมีปัญหาและเรื่องราวอาจจะบานปลาย

ที่มาของสํานวน เป็นธรรมเทศนาที่มีกุศโลบายสอนให้คนรู้จักระงับความโกรธ โดยหากใช้ความอดกลั้นและยอมถอย ไม่ทะเลาะด้วย เรื่องราวร้ายๆก็จะไม่เกิด ถึงแม้จะเป็นฝ่ายแพ้ในการโต้เถียง แต่ก็ขึ้นชื่อได้ว่าประเสริฐนัก

Continue Reading

ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงให้รู้จักกาละเทศะ รู้จักที่ต่ำที่สูง ไม่ตีตนเสมอด้วย

ที่มาของสํานวน ท้องฟ้าเปรียบถึงความสูงส่ง ส่วนแผ่นดินนั้นอยู่ต่ำกว่าท้องฟ้ามากนัก และมีความห่างชั้นกันมาก สำนวนนี้เป็นสำนวนไทยแท้ ตั้งแต่สมัยอดีต แต่คนต่างชาติจะไม่มีค่านิยมเช่นนี้

Continue Reading

ฟื้นฝอยหาตะเข็บ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการพูดถึงเรื่องเก่าๆขึ้นมา เพื่อให้มีประเด็นปัญหาขึ้นอีก ทั้งๆที่เรื่องราวนั้นได้จบลงไปแล้ว

ที่มาของสํานวน –

Continue Reading

ฟังหูไว้หู

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการรับฟังเรื่องราวต่างๆ ให้เพียงแต่รับฟังไว้ก่อน อย่าเพิ่งเชื่อสิ่งที่ได้รับฟังทั้งหมด

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการที่คนเราฟังเรื่องราวใดๆ ให้ใช้หูฟังข้างเดียว ส่วนหูอีกข้างให้เอาไว้ก่อน คือปิดหูอีกข้างไว้

Continue Reading

ฟังไม่ได้ศัพท์ จับเอามากระเดียด

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการได้ยินเรื่องราวใดๆมาแบบไม่เข้าใจถ่องแท้ แล้วนำมาถ่ายทอดแบบผิดๆ หรือนำมาใช้แบบผิดๆ

ที่มาของสํานวน “กระเดียด” คือ ค่อนข้าง,หนักไปทาง เมื่อมารวมกันเป็น “ฟังไม่ได้ศัทพ์ จับเอามากระเดียด” ก็จะหมายถึงการฟังอะไรมาแบบไม่เข้าใจถ่องแท้ แต่ก็นำไปใช้ตามความเข้าใจที่เข้าใจเองว่าน่าจะถูก

Continue Reading

มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก

สํานวนสุภาษิตนี้ มีความหมายเหมือนกับคำว่า “จับไม่ได้ ไล่ไม่ทัน” หมายถึงผู้ที่พูดจาตลบแตลง กลับกลอก เอาตัวรอดเก่งรู้จักใช้คำพูดพลิกแพลงเอาตัวรอดได้เสมอ แต่มีลักษณะไม่น่าเชื่อถือ

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงคนที่หลบหลีกเก่งได้คล่องแคล่ว แม้จะเอามะกอกซัก 3 ตะกร้าขว้างไปก็ไม่โดน

Continue Reading

ไม่พบวัวอย่าฟั่นเชือก ไม่พบเรือกอย่าตั้งร้าน

สํานวนสุภาษิตนี้ หากเหตุการณ์ยังไม่มีความแน่นอน อย่าเพิ่งด่วนเตรียมการมากเกินไป เพราะอาจจะเสียเปล่าได้ สำนวนนี้มีความหมายเหมือนกับสำนวน “ไม่เห็นกระรอก อย่าโก่งหน้าไม้”

ที่มาของสํานวน คำว่า “ฟั่นเชือก” หมายถึงการทำสิ่งที่เป็นเส้นให้เข้าเกลียวขดเป็นเชือก คำว่า “เรือก” หมายถึงไม้ไผ่ที่ผ่าออกเป็นซีก แล้วร้อยด้วยหวายให้ติดกันสำหรับปูเป็นพื้น สำนวนนี้เปรียบว่า หากยังไม่ได้วัวก็อย่าเพิ่งฟั่นเชือกไม่เช่นนั้นจะเสียแรงโดยเปล่าประโยชน์

Continue Reading

มะพร้าวห้าวมาขายสวน

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการที่คนมีความรู้ด้านนั้นน้อย แต่กลับไปหลอกลวงผู้ที่มีความรู้เรื่องนั้นเป็นอย่างดี สำนวนนี้ต่างจาก “สอนจระเข้ว่ายน้ำ” หรือ “สอนหนังสือสังฆราช” เพราะสองสำนวนนี้หมายถึงการที่ ผู้ที่รู้น้อยกว่าไปสอนหรือแนะนำคนที่มีความรู้มากกว่าแต่ ผู้สอนมีเจตนาที่บริสุทธ์

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการที่คนนำมะพร้าวห้าว ที่เป็นมะพร้าวแก่จัด ไปหลอกขายคนสวนมะพร้าวที่มีความรู้ด้านมะพร้าวเป็นอย่างดี จึงไม่สามารถที่จะหลอกคนสวนได้

Continue Reading

มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งไม่ยอมช่วยงานส่วนรวม แต่ยังทำตัวเกะกะการดำเนินงานของส่วนรวมมีความลำบากมากขึ้นไปอีก

ที่มาของสํานวน คำว่า “รา” ในที่นี้ แปลว่า ทำให้น้อยลง อ่อนลง หมดไปอย่างช้าๆ “มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ” เปรียบเปรยถึงผู้ที่ลงเรือลำเดียวกับคนอื่นแล้วไม่ยอมช่วยพายเรือ แต่ยังเอาขาจุ่มลงไปในน้ำ ยิ่งจะทำให้คนพายอื่นๆต้องใช้ลำบากมากยิ่งขึ้น

Continue Reading

ไม่ได้ด้วยเล่ห์ ก็เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ ก็เอาด้วยคาถา

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงผู้ที่จะเอาชนะคู่แข่งให้ได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีใด คือถ้าทำวิธีแรกไม่สำเร็จ ก็จะหาพยายามใช้วิธีที่สอง ถ้าวิธีที่สองไม่ได้อีก ก็จะหาทางอื่นๆเพื่อให้สำเร็จให้ได้ สํานวนนี้จะใช้กับการกระทำที่มีลักษณะไม่ซื่อ หรือการกระทำด้วยวิธีที่ไม่ดี

ที่มาของสํานวน –

Continue Reading
« 1 2 3 »

แนะแนวเรื่อง

  • Previous
  • 1
  • 2
  • 3
  • Next

สุภาษิต คําพังเพย สํานวนไทย

  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ

Blogroll

  • คำคม
  • นิทาน
  • ตลก
© 2022 | WordPress Theme by Superbthemes
เลือกหมวดหมู่ที่นี่ก่อน
  • หน้าแรก
  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ