ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการทำงานชิ้นหนึ่งที่ต้องใช้ความพยายามมานะอุตสาหะที่สูงมากเพื่อให้งานสำเร็จ
ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง ก้อนทั่งเป็นก้อนเหล็กที่มีขนาดใหญ่ หากฝนให้บางลงจนเป็นเข็ม จะต้องใช้ความพยายามอย่างสูงและอดทนอย่างมาก
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการทำงานชิ้นหนึ่งที่ต้องใช้ความพยายามมานะอุตสาหะที่สูงมากเพื่อให้งานสำเร็จ
ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง ก้อนทั่งเป็นก้อนเหล็กที่มีขนาดใหญ่ หากฝนให้บางลงจนเป็นเข็ม จะต้องใช้ความพยายามอย่างสูงและอดทนอย่างมาก
สํานวนสุภาษิตนี้ มีความหมายเหมือนกับ “ฝากอ้อยไว้กับช้าง” “ฝากปลาย่างไว้กับแมว” หมายถึง ฝากของหรือฝากฝังสิ่งใดให้กับคนที่ชอบสิ่งนั้นเป็นอย่างมาก ก็มีความเสี่ยงสูง ที่จะสูญเสียของสิ่งนั้นไป
ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง เสือเป็นสัตว์ที่ชอบกินเนื้อ แต่หากฝากเนื้อไว้กับเสือ โอกาสที่จะไม่ได้คืนสูงเพราะว่าเสือต้องกินเนื้อนั้นซะเอง
สํานวนสุภาษิตนี้ เป็นสุภาษิตสอนใจว่าอย่าไว้ใจและเชื่อมั่นสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป เพราะบางอย่างอาจจะผิดพลาดได้
ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการที่มีดวงดาวอยู่เต็มท้องฟ้า คือเป็นสภาพฟ้าเปิดไม่มีเมฆ จึงไม่มีแววที่ฝนจะตก แต่ไม่นานฝนก็อาจจะตกลงมาก็เป็นได้ ส่วนคำว่า “มีเมียสาวอย่าไว้ใจแม่ยาย” เป็นการอธิบายในเชิงที่ว่า แม้ชายหญิงจะตกล่องปล่องชิ้นกันแล้ว แต่หากแม่ยายเห็นคนอื่นที่ดีกว่า ก็อาจจะยกลูกสาวให้กับชายคนใหม่ได้ แม้โอกาสจะเกิดน้อยมากก็ตามที
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงทำจิตให้ให้เข็มแข็งหนักแน่น ดีกว่าหูเบาเชื่อคำคนอื่นโดยไม่ตรึกตรองก่อน
ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง การพกหินเพื่่อให้มีความมั่นคงหนักแน่น ส่วนนุ่นเปรียบถึงของเบาไม่หนักแน่น
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึง มีกับเหตุการณ์ที่ตนเองมีความพร้อม แต่ว่าก็สายไปแล้วที่จะคว้าโอกาสนั้นๆ หรือหมายถึงชายที่เผอิญพบกับผู้หญิงที่ถูกใจ แต่ตนเองนั้นมีครอบครัวหรือว่าสูงวัยมากแล้วไม่อำนวยในเรื่องการมีคู่ครอง
ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงขวานที่บิ่นไม่มีความคมเหลืออยู่ แม้เจอต้นไม้ที่อยากจะตัดก็ไม่สามารถทำได้
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการกระทำที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ปรากฎออกมา มีความแตกต่างจากของเดิมเป็นอย่างมาก โดยมีความหมายได้ทั้งเปลี่ยนไปในทางที่ดี หรือเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี
ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงหน้ามือและหลังมือที่มีความตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง
สํานวนสุภาษิตนี้ มักมีนำหน้าคือ “อย่าเอาพิมเสน ไปแลกกับเกลือ” หมายถึงการลดตัวเองไปเกลือกกลั้วเพื่อกระทำการใดๆ กับสิ่งที่ต่ำกว่าจะมีแต่เสียหายกับตนเองเปล่าๆ
ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง พิมเสนนั้นมีราคาแพงกว่าเกลือ แต่กลือนั้นมีราคาถูกกว่ามาก หากนำพิมเสนไปแลกเกลือแล้วมีแต่จะขาดทุน
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการกระทำสิ่งใดเพื่อให้เสร็จแบบลวกๆ โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการพุ่งหอกเข้าไปในป่ารก การกระทำเช่นนี้อาจจะเกิดอันตรายและเกิดความเสียหายกับสิ่งที่มองไม่เห็นที่อาจจะอยู่ในป่าที่รก นั้นได้
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนที่มีสติปัญหาและความสามารถพอๆกัน เมื่อต้องมาแข่งขันหรือต่อสู้กัน ก็อาจจะเสมอหรือสูสีเพราะว่าเก่งเหมือนกัน
ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการนำเพชรมาขูดกับเพชร จะไม่สามารถทำให้เกิดรอยใดๆได้เนื่องจากมีความแข็งแรงมากทั้งคู่
สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคำพูดบางครั้งหากพูดออกไปอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเองหรือคนรอบข้าง หากอยู่เฉยๆไม่พูดอะไรออกไปยังจะก่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า
ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง การรอรับของรางวัลจากผู้มีอำนาจ หากพูดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกไปหากได้รางวัลก็จะได้เพียงเบี้ยจำนวนน้อยนิด แต่หากไม่พูดอะไรไปอยู่นิ่งๆก็จะไม่มีใครทราบข้อบกพร่องที่มีอยู่ ก็จะได้รางวัลมากกว่าเป็นตำลึงทอง