Skip to content

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา

หมวดหมู่: หมวด ฝ พ ฟ ภ ม

ฝนทั่งให้เป็นเข็ม

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการทำงานชิ้นหนึ่งที่ต้องใช้ความพยายามมานะอุตสาหะที่สูงมากเพื่อให้งานสำเร็จ

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง ก้อนทั่งเป็นก้อนเหล็กที่มีขนาดใหญ่ หากฝนให้บางลงจนเป็นเข็ม จะต้องใช้ความพยายามอย่างสูงและอดทนอย่างมาก

Continue Reading

ฝากเนื้อไว้กับเสือ

สํานวนสุภาษิตนี้ มีความหมายเหมือนกับ “ฝากอ้อยไว้กับช้าง” “ฝากปลาย่างไว้กับแมว” หมายถึง ฝากของหรือฝากฝังสิ่งใดให้กับคนที่ชอบสิ่งนั้นเป็นอย่างมาก ก็มีความเสี่ยงสูง ที่จะสูญเสียของสิ่งนั้นไป

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง เสือเป็นสัตว์ที่ชอบกินเนื้อ แต่หากฝากเนื้อไว้กับเสือ โอกาสที่จะไม่ได้คืนสูงเพราะว่าเสือต้องกินเนื้อนั้นซะเอง

Continue Reading

ฝนตกอย่าเชื่อดาว มีเมียสาวอย่าไว้ใจแม่ยาย

สํานวนสุภาษิตนี้ เป็นสุภาษิตสอนใจว่าอย่าไว้ใจและเชื่อมั่นสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป เพราะบางอย่างอาจจะผิดพลาดได้

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการที่มีดวงดาวอยู่เต็มท้องฟ้า คือเป็นสภาพฟ้าเปิดไม่มีเมฆ จึงไม่มีแววที่ฝนจะตก แต่ไม่นานฝนก็อาจจะตกลงมาก็เป็นได้ ส่วนคำว่า “มีเมียสาวอย่าไว้ใจแม่ยาย” เป็นการอธิบายในเชิงที่ว่า แม้ชายหญิงจะตกล่องปล่องชิ้นกันแล้ว แต่หากแม่ยายเห็นคนอื่นที่ดีกว่า ก็อาจจะยกลูกสาวให้กับชายคนใหม่ได้  แม้โอกาสจะเกิดน้อยมากก็ตามที

Continue Reading

พกหินดีกว่าพกนุ่น

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงทำจิตให้ให้เข็มแข็งหนักแน่น ดีกว่าหูเบาเชื่อคำคนอื่นโดยไม่ตรึกตรองก่อน

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง การพกหินเพื่่อให้มีความมั่นคงหนักแน่น ส่วนนุ่นเปรียบถึงของเบาไม่หนักแน่น

Continue Reading

พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึง มีกับเหตุการณ์ที่ตนเองมีความพร้อม แต่ว่าก็สายไปแล้วที่จะคว้าโอกาสนั้นๆ หรือหมายถึงชายที่เผอิญพบกับผู้หญิงที่ถูกใจ แต่ตนเองนั้นมีครอบครัวหรือว่าสูงวัยมากแล้วไม่อำนวยในเรื่องการมีคู่ครอง

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงขวานที่บิ่นไม่มีความคมเหลืออยู่ แม้เจอต้นไม้ที่อยากจะตัดก็ไม่สามารถทำได้

Continue Reading

พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการกระทำที่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ปรากฎออกมา มีความแตกต่างจากของเดิมเป็นอย่างมาก โดยมีความหมายได้ทั้งเปลี่ยนไปในทางที่ดี หรือเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงหน้ามือและหลังมือที่มีความตรงกันข้ามกันอย่างสิ้นเชิง

Continue Reading

พิมเสนแลกกับเกลือ

สํานวนสุภาษิตนี้ มักมีนำหน้าคือ “อย่าเอาพิมเสน ไปแลกกับเกลือ” หมายถึงการลดตัวเองไปเกลือกกลั้วเพื่อกระทำการใดๆ กับสิ่งที่ต่ำกว่าจะมีแต่เสียหายกับตนเองเปล่าๆ

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง พิมเสนนั้นมีราคาแพงกว่าเกลือ แต่กลือนั้นมีราคาถูกกว่ามาก หากนำพิมเสนไปแลกเกลือแล้วมีแต่จะขาดทุน

Continue Reading

พุ่งหอกเข้ารก

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงการกระทำสิ่งใดเพื่อให้เสร็จแบบลวกๆ โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการพุ่งหอกเข้าไปในป่ารก การกระทำเช่นนี้อาจจะเกิดอันตรายและเกิดความเสียหายกับสิ่งที่มองไม่เห็นที่อาจจะอยู่ในป่าที่รก นั้นได้

Continue Reading

เพชรตัดเพชร

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคนที่มีสติปัญหาและความสามารถพอๆกัน เมื่อต้องมาแข่งขันหรือต่อสู้กัน ก็อาจจะเสมอหรือสูสีเพราะว่าเก่งเหมือนกัน

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึงการนำเพชรมาขูดกับเพชร จะไม่สามารถทำให้เกิดรอยใดๆได้เนื่องจากมีความแข็งแรงมากทั้งคู่

Continue Reading

พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง

สํานวนสุภาษิตนี้ หมายถึงคำพูดบางครั้งหากพูดออกไปอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเองหรือคนรอบข้าง หากอยู่เฉยๆไม่พูดอะไรออกไปยังจะก่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า

ที่มาของสํานวน เปรียบเปรยถึง การรอรับของรางวัลจากผู้มีอำนาจ หากพูดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกไปหากได้รางวัลก็จะได้เพียงเบี้ยจำนวนน้อยนิด แต่หากไม่พูดอะไรไปอยู่นิ่งๆก็จะไม่มีใครทราบข้อบกพร่องที่มีอยู่ ก็จะได้รางวัลมากกว่าเป็นตำลึงทอง

Continue Reading
1 2 3 »

Posts pagination

  • 1
  • 2
  • 3
  • Next

สุภาษิต คําพังเพย สํานวนไทย

  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ

Blogroll

  • คำคม
  • นิทาน
  • ตลก
© 2025 | WordPress Theme by Superbthemes
เลือกหมวดหมู่ที่นี่ก่อน
  • หน้าแรก
  • หมวด ก ข ค ฆ ง
  • หมวด จ ฉ ช ซ ฌ
  • หมวด ณ ด ต ถ ท
  • หมวด ธ น บ ป ผ
  • หมวด ฝ พ ฟ ภ ม
  • หมวด ย ร ล ว ศ
  • หมวด ษ ส ห ฬ อ ฮ